EN

CN

TH

ตรวจประเมิณ

ตรวจเตรียมพร้อมก่อนมีบุตร

เตรียมความพร้อมสำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ และเป็นการวางแผนเพื่อที่จะมีบุตรที่สมบูรณ์ โปรแกรมตรวจความพร้อมก่อนมีบุตร เป็นการตรวจเช็กสภาพความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกาย เพื่อป้องกันการติดโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากคู่สมรส และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูกน้อยที่จะถือกำเนิดขึ้นมาในอนาคต โดยทั่ว ๆ ไป รายการตรวจมักจะประกอบไปด้วยดังนี้

ตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก

คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้เองหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิดเป็นเวลาตั้งแต่ 6เดือน ถึง 1 ปีขึ้นไป อาจเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก โดยทั่วไปพบได้ประมาณ 15% หรือราวๆ 1 ใน 6 ของคู่สมรส แนะนำให้เข้ารับการตรวจประเมิน ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาในขั้นตอนต่อไป
เป็นการตรวจขั้นพื้นฐานเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย โดยการตรวจน้ำเชื้อที่ได้จากการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อประเมินดูปริมาณ ความเข้มข้น การเคลื่อนที่ และรูปร่างของอสุจิ
คำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการตรวจเมื่อร่างกายอ่อนแอ
  • หากท่านทานยาหรือมีการใช้ยาใดเป็นประจำ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า
  • งดหลั่ง 3-5 วัน ก่อนเข้ารับการตรวจเพื่อความแม่นยำของผล
การตรวจน้ำเชื้อบอกอะไรเราได้บ้าง
  • คาดการณ์ความสามารถในการปฏิสนธิ
  • นำมาใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินแนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยากได้
  • บ่งบอกถึงคุณภาพอสุจิของเรา หากพบความผิดปกติสามารถแก้ไขได้ทัน
ใครควรตรวจน้ำเชื้อ
  • ผู้ที่พยายามมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมากกว่า6เดือน แต่ยังไม่สำเร็จ
  • ผู้ที่ต้องการฝากน้ำเชื้อแช่แข็งก่อนเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ ผ่าตัด
  • ผู้ที่วางแผนรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เป็นการตรวจประเมินดูความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ ที่อาจส่งผลกระทบหรือเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากได้ สามารถเข้ารับการโดยได้ทุกช่วงเวลาของรอบเดือน โดยหากเข้ารับการตรวจในช่วงวันที่ 2-3 ของรอบเดือน จะสามารถตรวจดูปริมาณฟองไข่ตั้งต้นของรอบเดือนนั้นๆได้ด้วย และหากเข้ารับการตรวจในช่วงกลางรอบเดือนก็จะสามารถตรวจดูขนาดของฟองไข่เพื่อคาดการณ์วันตกไข่ได้อีกด้วย
คำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจ
  • การตรวจประเมินความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่ สามารถเข้ารับการตรจได้ทุกช่วงเวลา
  • การตรวจประเมินดูไข่ตกของรอบเดือนนั้นๆ : ช่วงวันที่ 12-14 ของการเป็นประจำเดือน
  • การตรวจดูปริมาณฟองไข่ตั้งต้นของรอบเดือนนั้นๆ : วันที่ 2 หรือ 3 ของการเป็นประจำเดือน
การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดสามารถบอกอะไรเราได้บ้าง
  • ความผิดปกติที่เกิดในมดลูกและรังไข่ เช่นเนื้องอกมดลูก(Myoma) ถุงน้ำรังไข่ (Cyst)
  • สามารถคาดการณ์ความผิดปกติบางอย่างที่เกิดกับท่อนำไข่ได้
  • พัฒนาการของฟองไข่
การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH จะเป็นการตรวจเพื่อประเมินสมรรถภาพของรังไข่ (Ovarian Reserve) โดยการเจาะเลือด ผลAMHสามารถบอกได้ว่ารังไข่ทำงานปกติหรือไม่ รวมถึงสามารถประเมินได้ว่าในรังไข่ยังมีฟองไข่สะสมเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน เพื่อประเมินโอกาสการตั้งครรภ์ และยังช่วยให้แพทย์แนะนำแนวทางเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ค่า AMH ในแนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว สามารถช่วยประเมินได้ว่า รังไข่จะสามารถตอบสนองการกระตุ้นไข่ด้วยยาที่ใช้มากแค่ไหน และควรใช้ปริมาณยามากน้อยเท่าไหร่ เพื่อให้มีการผลิตไข่ออกมาในปริมาณที่เหมาะสม
คำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจ
  • สามารถเข้ารับการตรวจวันไหนก็ได้โดยไม่ต้องรอช่วงเวลาเป็นประจำเดือน เนื่องจาก AMH ไม่ได้สัมพันธ์กับรอบเดือน
  • ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ
  • พัฒนาการของฟองไข่
ค่า AMH บ่งบอกอะไรได้บ้าง
เราสามารถวิเคราะห์ผล AMH ได้ดังนี้
  • AMH มากกว่า 4 ng/ml : ภาวะฮอร์โมนสูง อาจเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS : Polycystic ovary syndrome)
  • AMH 1- 4 ng/ml : ฮอร์โมนปกติ
  • AMH 0.3 – 1 ng/ml : ภาวะฮอร์โมนค่อนข้างต่ำ บ่งบอกได้ว่ามีจำนวนไข่เหลืออยู่ค่อนข้างน้อย เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากสูง
  • AMH ต่ำกว่า 0.3 ng/ml : ภาวะฮอร์โมนต่ำ บ่งบอกได้ว่ามีจำนวนไข่เหลืออยู่น้อยมาก เข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก
ใครควรตรวจAMH
ผู้ที่อยากทราบว่าจำนวนฟองไข่เหลือมากน้อยเพียงใด
  • ผู้ที่อยากทราบว่าจำนวนฟองไข่เหลือมากน้อยเพียงใด
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และพยายามมีบุตรมาแล้วมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี และพยายามมีบุตรมาแล้วมากกว่า 1ปี ขึ้นไป
  • ผู้ที่ต้องการฝากไข่แช่แข็ง เพื่อวางแผนมีบุตรในอนาคต หรือก่อนเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือผ่าตัด